การใช้ICT เพื่อการศึกษา บริหาร จัดการเรียนรู้

การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีบทบาทต่อการศึกษาอย่างมาก หลังจากแนวคิดของบิลล์ เกตส์ (Bill Gate) เกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการศึกษา ความคิดของเขาสมัยนั้นนับเป็นการเปิดโลกทัศน์ด้านการศึกษาด้วยการนำระบบคอมพิวเตอร์สมัยใหม่มาปฏิวัติระบบการเรียนการสอนในปัจจุบัน(รุ่ง แก้วแดง,2543) ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดเรื่องการใช้สารสนเทศเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ให้เกิดกระบวนการคิดด้วยเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์และการสื่อสารโทรคมนาคมอันมีบทบาทที่สำคัญต่อการพัฒนาการศึกษา คือ 1) เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีส่วนช่วยเรื่องการเรียนรู้ 2) เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยสนับสนุนการจัดการศึกษา 3) เทคโนโลยีสารสนเทศกับการสื่อสารระหว่างบุคคล(หาญศึก เล็บครุฑและคณะ,2553) และภาคีเพื่อทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 (The Partnership for 21st Century Skills, 2011)ได้กำหนดผลลัพธ์ของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 โดยผสมผสานความรู้ ทักษะ และความชำนาญและความรู้ความสามารถพื้นฐานในเรื่องต่างๆ ที่ประกอบด้วย 1) ความรู้เนื้อหาวิชาและประเด็นแนวคิดหลักของศตวรรษที่ 21 ได้แก่จิตสำนึกต่อโลก ความรู้พื้นฐานการเงินเศรษฐกิจ ธุรกิจ และการประกอบการ ความเป็นพลเมือง การรู้เรื่องสุขภาพ และความรู้พื้นฐานเรื่องสิ่งแวดล้อม  2) ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ครอบคลุมความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม การคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหา การสื่อสารและความร่วมมือร่วมใจ 3) ทักษะสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี ครอบคลุมการรู้สารสนเทศ การรู้เท่าทันสื่อ การรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และ4) ทักษะชีวิตและอาชีพ ครอบคลุมความยืดหยุ่น การปรับตัว ทักษะทางสังคมและข้ามวัฒนธรรม ผลิตผลและการตรวจสอบได้ ภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ (ชุติมา สัจจานันท์ , 2556) โดยประเด็นที่ 3 ทักษะสารสนเทศ(IT Skill) สื่อและเทคโนโลยี ครอบคลุมการรู้สารสนเทศ(Information Literacy) การรู้เท่าทันสื่อ(Media Literacy) การรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ICT Literacy) มีบทบาทสำคัญมากในยุคปัจจุบันนี้ เพราะสารสนเทศที่ดีและสมบูรณ์เป็นสิ่งที่ทำให้เราอยู่แถวหน้า เป็นผู้นำที่สามารถตัดสินใจและทำงานได้อย่างคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ

แนวทางการวิเคราะห์วิจารณ์งานวิจัย

แนวทางการวิเคราะห์วิจารณ์งานวิจัย

ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจหลักการวิจัยให้ถ่องแท้เสียก่อน จึงจะสามารถวิเคราะห์ตลอดจนดำเนินการวิพากษ์และวิจารณ์งานวิจัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ หลักการของการดำเนินการวิจัยตามที่อ.สมพงษ์  พันธุรัตน์ อ.ประจำสาขาประเมินผลฯ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้เน้นย้ำเสมอว่าการวิจัยต้องมีหลักการคือ ชัดเจน(Clear) แปลกใหม่(New&Modify) เป็นไปได้(possible)และมีประโยชน์(Ethical)

ชื่อเรื่อง Title ตามหลัก SOSE(Subject,Object,Setting,Effect)
1. สะท้อนเรื่องที่วิจัยหรือไม่
2. กระชับหรือไม่
3. มีการระบุตัวแปรที่สำคัญหรือไม่
4. มีการระบุประชากรที่ศึกษา กลุ่มเป้าหมายหรือไม่
5. มีการระบุสถานที่ศึกษาหรือไม่
6. สะท้อนแนวทางวิธีการศึกษาและวิเคราะห์หรือไม่

บทคัดย่อ Abstract
1. มีการกล่าวถึงความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา วัตถุประสงค์ ระเบียบวิธี ผลการวิจัย และให้ข้อเสนอแนะหรือไม่
2. มีจำนวนคำและความยาวที่เหมาะสมหรือไม่
3. กระชับและชัดเจนหรือไม่
4. สะท้อนเรื่องที่ศึกษาหรือไม่

ปัญหาการวิจัย Research Problem
1. ปัญหาการวิจัยมีเขียนไว้อย่างชัดเจนหรือไม่ มีการกล่าวถึงในส่วนเริ่มต้นของรายงานวิจัยหรือไม่ มีการเขียนแบบข้อคำถาม หรือเป็นประโยคบอกเล่า
2. มีข้อสนับสนุนความเป็นมาความสำคัญหรือความรุ่นแรงของปัญหาหรือไม่
3. มีการกล่าวถึงงานวิจัยอื่นที่เกี่ยวข้องหรือไม่ และมีการชี้ให้เห็นไม่ว่างานวิจัยนี้ เหมือนหรือต่างจากเรื่องอื่นอย่างไร หรืองานงานวิจัยนี้จะเติมช่องว่างของความรู้ได้อย่างไร
4. มีการระบุตัวแปรหรือความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่จะศึกษาหรือไม่
5. มีการระบุธรรมชาติของประชากรที่ศึกษาหรือไม่
6. มีการมองปัยหาภายใต้บริบทของกรอบแนวคิดทฤษฏีที่เหมาะสมหรือไม่
7. ผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการศึกษาปัญหานี้มีความสำคัญอย่างไรต่อการปฏิบัติการพยาบาล การสร้างองค์ความรู้หรือประเด็นอื่น

วัตถุประสงค์การวิจัย Purpose,Objective,Aim
1. มีความเหมาะสมกับเรื่องที่วิจัยหรือไม่
2. เขียนชัดเจนหรือไม่ว่าผู้วิจัยมีแผนจะทำอะไร จะเก็บข้อมูลจากใคร ที่ไหน
การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง Review of literature
1. เป็นการศึกษาอย่างขว้างขวางลึกซึ้งเกี่ยวข้องและครอบคลุมตัวแปรต่างๆที่วิจัยหรือไม่
2. นำเสนอต่อจากบทนำและปัญหาการวิจัยหรือไม่
3. ให้ความรู้เกี่ยวกับความรู้ที่มีอยู่ ช่องว่างของความรู้ และบทบาทของงานวิจัยเรื่องนี้ในการขยายหรือทดสอบความรู้หรือไม่
4. มีการใช้ข้อมูลทั้งเชิงทฤษฏีและงานวิจัยหรือไม่
5. แหล่งอ้างอิงส่วนใหญ่เป็นปฐมภูมิ หรือ ทุติยภูมิ มีความเป็นปัจจุบันหรือไม่
6. แหล่งอ้างอิงสำคัญหรือข้อมูลสำคัญ มีการกล่าวไว้ถึงครบถ้วนหรือไม่
7. การเขียนเรียงเป็นลำดับต่อเนื่องหรือไม่ น่าอ่าน น่าติดตามหรือไม่
8. การเขียนเรียบเรียงใหม่โดยใช้ภาษาตนเอง หรือเป็นการคัดลองคำพูดมาจากแหล่งปฐมภูมิโดยตรง
9. สะท้อนอคติของผู้วิจัยหรือไม่
10. มีการเขียนเชิงวิพากษ์ เปรียบเทียบหรือไม่
11. มีการสรุปสถานภาพองค์ความรู้ในหัวข้อนั้น State of the art หรือไม่

คำจำกัดความ Definition
1. มีการให้ความหมายตัวแปรสำคัญๆในเชิงปฏิบัติการที่สอดคล้องกับความหมายเชิงทฤษฏีหรือไม่
2. มีการให้ความหมายตัวแปรสำคัญครบถ้วนหรือไม่

กรอบแนวคิดทฤษฏี
1. มีการระบุกรอบแนวคิดทฤษฏีอย่างชัดเจนหรือไม่
2. แนวคิด ทฤษฏี สอดคล้องเหมาะสมกับเรื่องที่ศึกษาหรือไม่
3. ให้ความหมายของตัวแปรสำคัญอย่างชัดเจนหรือไม่
4. สมมุติฐานได้มาจากกรอบแนวคิดทฤษฏีหรือไม่
5. มีการระบุข้อความแสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรหรือไม่
6. การใช้เแนวคิด ทฤษฏี มีความสม่ำเสมอตลอดงานวิจัยหรือไม่
7. ทฤษฏีที่ใช้มาจากศษสตร์ทางการพยาบาลหรือสาขาวิชาใด หรือเป็นแนวคิดที่เกิดจากการผสมผสานงานวิจัยและทฤษฏีต่างๆ

เครื่องมือการวิจัย
1. มีการระบุเครื่องมือ แหล่งที่มา วัตถุประสงค์ ลักษณะ จุดแข็ง จุดอ่อน ของเครื่องมือครบถ้วนหรือไม่ มีการให้เหตุผลเรื่องการเลือกเครื่องมือหรือไม่
2. เครื่องมือที่ใช้เหมาะสมกับตัวแปรที่ศึกษา ประชากรหรือไม่
3. มีวิธีการใช้เครื่องมือกับตัวอย่างทุกคนเหมือนกันหรือไม่
4. ได้รายงานความตรงของเครื่องมือหรือไม่ เหมาะสมหรือไม่
5. ได้รายงานค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือหรือไม่ว่าทำอย่างไร ค่าเท่าไร ยอมรับได้หรือไม่
6. ถ้าผู้วิจัยสร้างเครื่องมือเอง มีการอธิบายที่มา/แนวคิดของการสร้างเครื่องมือว่าอย่างไร ขั้นตอนเป็นอย่างไร ค่าความตรงและค่าความเชื่อมั่นเท่าไร ยอมรับได้หรือไม่
7. เครื่องมือแต่ละชนิดมีการควบคุมคุณภาพ วิธีการใช้ที่เหมาะสมหรือไม่
แบบสังเกต ใครสังเกต มีคู่มือไหม มีการฝึกหรือไม่ การสัง้กตมีผลต่อการวิจัยไหม
แบบสัมภาษณ์ ใครสัมภาษณ์ ข้อความที่ใช้ ภาษา ระยะเวลา เหมาะสมหรือไม่
แบบสอบถาม เนื้อหาครอบคลุมหรือไม่ มีความชัดเจนหรือไม่ เป็นคำถามปลายปิด หรือปลายเปิด
เครื่องมือวัด ทำไมจึงใช้เครื่องมือนั้น มีวิธีควบคุมความถูกต้องแม่นตรง และความไวของเครื่องมืออย่างไร

วิธีการรวบรวมข้อมูล Data collection procedure
1. ข้อมูลมีการรวบรวมอย่างไร มีกี่วิธี
2. วิธีรวบรวมข้อมูลมีความเหมาะสมกับการวิจัยหรือไม่
3.มีขั้นตอนการรวบรวมข้อมูลที่ชัดเจนสำหรับตัวอย่างทุกคนหรือไม่
4. ใครรวบรวมข้อมูล ผู้รวบรวมข้อมูลมีความเหมาะสมหรือไม่ ได้รับการฝึกอบรมอย่างไร
5. ข้อมูลรวบรวมในสถานการณ์เช่นไร มีความกดดันไหม มีคนอื่นอยู่ในขณะเก็บข้อมูลไหม ผู้ให้

ข้อมูลมีความเสี่ยงหรือไม่
การวิเคราะห์ข้อมูล Data analysis
1. เลือกใช้สถิติที่เหมาะสมหรือไม่กับระดับข้อมูลประชากร
2. วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อตอบวัตถุประสงค์ หรือทดสอบสมมุติฐานครบถ้วนหรือไม่
3. มีการนำเสนอข้อมูลชัดเจนหรือไม่ นำเสนอรูปแบบต่างๆหรือไม่
4. ในการทดสอบสมมุติฐานมีการกำหนดระดับความนัยสำคัญหรือไม่
5. ถ้าใช้กราฟ ตาราง มีการนำเสนอที่เหมาะสม หรือไม่ ให้ข้อมูลเสริม เพื่อลดการบรรยายหรือไม่ มีชื่อตาราง หัวตารางที่ถูกต้องหรือไม่ ซ้ำซ้อนกับเนื้อหา การบรรยายในรายงานหรือไม่

การอภิปรายผลและการสรุปผล Discussion conclusion
1. มีการอภิปรายผลโดยแสดงเหตุผลของผลการวิจัยว่าทำไมจึงเกิดเช่นนั้นหรือไม่
2. มีการนำผลการวิจัยอื่น แนวคิด ทฤษฏีที่อ้างไว้มาใช้ประกอบการอภิปรายผลหรือไม่ อย่างไร
3. สะท้อนให้เห็นว่าผลการวิจัยเป็นไปตามที่คาดหวังหรือไม่ เพราะเหตุใด
4. มีกาสรุปผลการวิจัยที่ชัดเจน ตอบคำถามการวิจัย หรือนำเสนอผลการทดสอบสมมุติฐานหรือไม่
5. มีการระบุจุดอ่อน หรือข้อจำกัด Limitation ของการวิจัยครั้งนี้หรือไม่ ว่าอย่างไร ประโยชน์ของการวิจัยว่าอย่างไร เหมาะสมชัดเจนหรือไม่

ข้อบ่งชี้ ข้อเสนอแนะ Implication,Recommendation
1. มีการเสนอข้อบ่งชี้ในการนำผลการวิจัยไปใช้คลินิกหรืออื่นๆหรือไม่
2. ให้ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไปว่าอย่างไร สอดคล้องกับงานวิจัยหรือไม่
เอกสารอ้างอิง/บรรณานุกรม Reference,Bibliography
1. เอกสารอ้างอิงหรือบรรณานุกรมครอบคลุมเอกสารที่อ้างอิงในส่วนเนื้อหาหรือไม่
2. เขียนตามรูปแบบที่กำหนดของแบบอ้างอิงนั้นๆหรือไม่

อื่นๆ
1. เขียนกระชับ ชัดเจน เป็นระบบหรือไม่ เขียนถูกต้องตามหลักภาษา รูปประโยควรรคตอนหรือไม่
2. เขียนเชิงวิชาการหรือไม่
3. ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่เป็นที่ยอมรับหรือไม่
4. ผู้วิจัยเป็นผู้มีความรู้ ประสบการณ์ในเรื่องที่วิจัยหรือไม่

สมองกับการเรียนรู้

 

•อารมณ์มีความสัมพันธ์กับการเรียนรู้ โดยอารมณ์จะเป็นตัวช่วยเราในการเรียกความทรงจำเดิมที่เก็บไว้ในสมอง
•ภาวะของสมองที่เหมาะสมที่สุดต่อการเรียนรู้คือภาวะที่เรียกว่าเกิดความตื่นตัวแบบผ่อนคลาย (Relaxed alertness)

 

•การเรียนรู้จะประสบความสำเร็จที่สุดเมื่อกิจกรรมการเรียนรู้เกี่ยวข้องโดยตรงกับประสบการณ์ทางกายภาพที่เป็นรูปธรรมจับต้องได้
 
 
 
•คนเราเกิดมาพร้อมกับจำนวนเซลสมองที่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต คือจำนวนประมาณ 100,000 ล้านเซล (neurons) และปลายประสาทกว่า 100,000,000 ล้านใยประสาท (synapses)
•สมองมีความยืดหยุ่น หากเราใช้สมองในการแก้ไขปัญหา สมองก็จะมีการสร้างใยประสาทเพิ่มขึ้น แต่ถ้าไม่ได้ใช้ ใยประสาทก็จะถูกทำลายลงไป•การขยายตัวของสมองไม่ได้มาจากการเพิ่มจำนวนเซลของสมอง แต่มาจาก “ใยประสาท”

เก็งข้อสอบ

เก็งข้อสอบบรรจุครูผู้ช่วย ปี2554 แนวข้อสอบบรรจุครูผู้ช่วย ปี2554 ข้อสอบครูชำนาญการพิเศษ ,ข้อสอบครูผู้ช่วย,สอบบรรจุครูผู้ช่วย,แนวข้อสอบครูผู้ช่วย,สอบครูผู้ช่วย,แนวข้อสอบครูผู้ช่วย,ครูผู้ช่วย,ข้อสอบบรรจุครู,ข้อสอบครูชำนาญการพิเศษ,สอบครูชำนาญการพิเศษ,ข้อสอบเยียวยา ชี้แจง :ให้ข้าราชการครูผู้เข้ารับการพัฒนาเพื่อเลื่อนให้มีหรือเลื่อนเป็นวิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ เลือกข้อที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียวให้ถูกต้อง แบบประเมินทั้งหมด 100 ข้อ คะแนนเต็ม 100 คะแนน เวลา 1.30 ชั่วโมง

1. การจัดการศึกษาต้องมีคุณภาพหมายถึงข้อใด

 ก. มีกิจกรรมเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ข. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนสูง ค. มีการนำหลักสูตรไปใช้ ง. มีการใช้สื่อประกอบการสอ

2. การวัดและการประเมินผลมีวัตถุประสงค์ตามข้อใด

ก. การปรับปรุงการเรียนการสอน ข. ตัดสินผลการเรียนการสอน ค. ตรวจสอบพัฒนาการตามจุดประสงค์ ง. ปรับปรุงการเรียนการสอนและตัดสินผลการเรียน

3. การจะดำเนินการนิเทศการศึกษาให้ได้ผลเลิศต้องคำนึงถึงสิ่งใดเป็นที่สุด

ก. บรรยากาศและการร่วมมือในการนิเทศ ข. กลุ่มบุคคลและงานที่จะนิเทศ ค. จุดมุ่งหมายและเป้าหมาย ง. เทคนิคและการจัดกิจกรรมการนิเทศ

4. สิ่งใดที่ครูผู้สอนควรยึดเป็นหลักสำคัญที่สุดในการ จัดกิจกรรมการเรียนรู้

ก. หลักสูตร ข. แผนการสอน ค. จุดประสงค์ ง. เทคนิคการสอน

 5. หลักสูตรท้องถิ่นหมายถึงข้อใด

ก. ท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการพัฒนาการเรียนการสอน ข. ท้องถิ่นเป็นตัวกำหนดหลักสูตรแกน ค. ท้องถิ่นเป็นตัวกำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ ง. ท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการพัฒนาโรงเรียน

6. ทำไมต้องมีการประกันคุณภาพการศึกษา

ก. เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายการศึกษาแห่งชาติ ข. เพื่อให้ทุกโรงเรียนมีความคล้ายคลึงกันด้านการศึกษา ค. เพื่อเตรียมรับการประเมินภายนอก ง. เพื่อพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษา

7. ข้อใดกล่าวถูกต้องตามแนวทางปฏิรูปการเรียนรู้

ก. การจัดการเรียนรู้ต้องยึดผู้เรียนเป็นที่ตั้ง ข. การเรียนรู้เกิดขึ้นได้กับทุกคน ทุกที่ ทุกเวลา ค. การจัดการเรียนรู้ถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด ง. ถูกทุกข้อ

8. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของการเรียนรู้เพื่อการปฏิรูปการเรียนรู้

ก. การเรียนรู้เน้นเด็กเป็นศูนย์กลาง ข. การเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง ค. การเรียนรู้ร่วมกับบุคคลอื่น ง. การเรียนรู้ด้วยกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง 

9. หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน กำหนด เริ่มใช้ในโรงเรียนนำร่องการใช้หลักสูตรตั้งแต่ ปีการศึกษาใดเป็นต้นไป

ก. 2545 ข. 2546 ค. 2547 ง. 2548

10. จัดให้สอดคล้องกับจิตวิทยาพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กข้อความดังกล่าวเกี่ยวข้องกับ หลักสูตรปฐมวัย

ก. หลักการ ข. จุดมุ่งหมาย ค. เนื้อหาสาระ ง. แนวทางการจัดประสบการณ์

11. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับการพัฒนาการตามหลักสูตรปฐมวัย

ก. ประเมินพัฒนาการให้ครบทุกด้าน ข. ประเมินเป็นรายบุคคลสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ค. การประเมินเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมในตาราง ง. ถูกทุกข้อ

12. ไม่ใช่กลุ่มสาระการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ก. กลุ่ม สร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต ข. กลุ่มคณิตศาสตร์ ค. กลุ่มวิทยาศาสตร์ ง. กลุ่มการงานอาชีพ

13. ความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเกี่ยวข้องกับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามข้อใด ก. หลักการ ข. จุดมุ่งหมาย ค. โครงสร้าง ง. สาเหตการปรับปรุงหลักสูตร

14. ข้อใดไม่ใช่เอกสารหลักสูตร ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ก. คู่มือครู ข. แผนการสอน ค. หนังสือเรียนประวัติศาสตร์ไทย ง. แผนปฏิบัติงานวิชาการ

15. ภาษาอังกฤษเริ่มกำหนดให้เรียนในระดับชั้นใดเป็นต้นไป ก. ป. 1-2 ข. ป. 3-4 ค. ป. 5-6 ง. ทุกชั้นต้องเรียน

16. กระบวนการวัดและประเมินผลการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเน้นเรื่องใด ก. วัดความสามารถในการใช้ภาษา ข. วัดพัฒนาการทางภาษาของผู้เรียน ค. มีข้อทดสอบมาตรฐานวัดความสามารถในการใช้ภาษา ง. ถูกทุกข้อ

17.ข้อใดไม่กล่าวไว้ในโครงสร้างของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ก. ช่วงชั้น ข. กลุ่มสาระการเรียนรู้ ค. ช่วงเวลาเรียน ง. กิจกรรมพัฒนาผุ้เรียน

18. ” สามารถวิเคราะห์ปัญหาของชุมชน” เป็นลักษณะการพัฒนาผู้เรียนตามข้อใด ก. พัฒนาด้านปัญญา ข. พัฒนาด้านความรู้สึก ค. พัฒนาด้านทัศนคติ ง. พัฒนาด้านทักษะการปฏิบัติ

19. ข้อใดเป็นหลักการศึกษาตามแนวทางปฏิรูปการศึกษา ก. ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเอง ข. ถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด ค. กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเอง ตามธรรมชาติและตามศักยภาพ ง. ถูกทุกข้อ

20. “นักเรียนมีโอกาสกำหนดผลการเรียนรู้ร่าวมและวางแผนประเมินผลการเรียนรู้” เป็นลักษณะของการเรียนรู้ตามข้อใด ก. การเรียนรู้ที่สนองความแตกต่างระหว่างบุคคล ข. การเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง ค. การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ง. การเรียนรู้แบบองค์รวม

21. วิธีการเรียนรู้ตามกระบวนการปฏิรูปการเรียนรู้ มีกี่ลักษณะ ก. 3 ลักษณะ ข. 4 ลักษณะ ค. 5 ลักษณะ ง. หลายลักษณะ

22. เป็นแหล่งรวบรวมผลงานหรือหลักฐานที่เกิดจากการเรียนรู้ของผู้เรียนหมายถึงข้อใด ก. การสำรวจเด็กรายบุคคล ข. การเรียนรู้บูรณาการ ค. โครงสร้าง ง. แฟ้มสะสมงาน

 23. ข้อใดไม่ใช่ตัวแปรของการวิจัย ก. ตัวแปรต้น ข. ตัวแปรตาม ค. ตัวแปรซับซ้อน ง. ตัวแปรสอดแทรก

24. ขั้นตอนแรกของการวิจัยคือข้อใด ก. การกำหนดปัญหา ข. ศึกษาทฤษฎีหลักการ ค. ตั้งสมมติฐาน ง. สรุปผล

25. ความแตกต่างของคะแนนสูงสุดกับต่ำสุดคือข้อใด ก. มัธยฐาน ข. ฐานนิยม ค. พิสัย ง. อันตรภาคชั้น

 26. ข้อใดเป็นความสำคัญของการวิจัยในการปฏิบัติงานของผู้บริหาร ก. ข้อมูลตัดสินใจ ข. พัฒนาการ ค. แก้ปัญหาหน่วยงาน ง. ป้องกันปัญหา

 27. ข้อใดไม่ใช่ประเภทของสื่อการสอนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ก. สื่อแหล่งเรียนรู้ ข. สื่อวัสดุ ครุภัณฑ์ ค. สื่อที่ผู้เรียนและผู้สอนจัดทำขึ้น ง. สื่อธรรมชาติ สื่อสิ่งพิพม์และสื่อเทคโนโลยี

28. ข้อใดสื่อประเภทวัสดุ หรือซอฟต์แวร์ ก. เครื่องฉายสไลด์ ข. เครื่องวีดีโอ ค. เทปเสียง ง. ไม่มีข้อถูก

29. การเลือกสื่อการเรียนการสอนตามหลักการแล้วข้อใดสำคัญที่สุด ก. ประสิทธิภาพ ข. ประสิทธิผล ค. ประหยัด ง. คุ้มค่า

30. เอกสารการประเมินผลตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ก. รบ. 2 ต ข. รบ. 3 ต ค. รบ. 4 ต ง. ปพ. 9

31. “ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะคุณภาพที่พึงประสงค์และมาตรฐานที่ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาทุกแห่ง”เป็นความหมายตรงกับข้อใด ก. ประกันคุณภาพ ข. ประกันประสิทธิภาพ ค. มาตรฐานการศึกษา ง. การนิเทศภายใน

32. “บุคคลากรซึ่งทำหน้าที่หลักด้านการสอนและการวิจัยในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา” เรียกว่า ก. ครู ข. อาจารย์ ค. ศึกษานิเทศก์ ง. คณาจารย์

33. “การจัดการศึกษาภาคบังคับ 9 ปี” ต้องดำเนินการภายในปีใด ก. 2544 ข. 2545 ค. 2546 ง. 2547

 34. “การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์” อยู่ในส่วนใดของ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ก. หลักการ ข. ความมุ่งหมาย ค. จุดมุ่งหมาย ง. ระบบการศึกษา

35. ข้อใดไม่ใช่ “หลักการจัดการศึกษา” ตาม พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาต ก. เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน ข. ระดมทรัพยากรจากแหล่งต่าง ๆ มาจัดการศึกษา ค. ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ง. การพัฒนาสาระกระบวนการเรียนรู้ต่อเนื่อง

 36. “มีเอกภาพด้านนโยบาย และมีความหลากหลายในการปฏิบัติ” อยู่ในส่วนใดของ พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาตี ก. หลักการจัดการศึกษา ข. ระบบการศึกษา ค. แนวการจัดการศึกษา ง. กระบวนการจัดการศึกษา

37. ข้อใดไม่มีสิทธิ์ในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานตาม พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาต ก. บุคคล ข. ครอบครัว ค. องค์กร ง. มหาวิทยาลัย

38. ” พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 เกิดขึ้นตามรัฐธรรมนูญในมาตราใด ก. 43 ข. 69 ค. 80 ง. 81

39. ข้อใดไม่ใช่ระดับการศึกษาในโครงสร้างการจัดการศึกษาตาม พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ ก. ปฐมวัย ข. ขั้นพื้นฐาน ค. ระดับต่ำกว่าปริญญาตรี ง. ระดับปริญญา

40. “การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่า ผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด” อยู่ในส่วนใดของ พ.ร.บ. ฉบับนี้ ก. หลักการ ข. ความมุ่งหมาย ค. แนวการจัดการศึกษา ง. การจัดการศึกษา

41. ข้อใดเป็น “จุดเน้นในการจัดการศึกษา” ตาม พ.ร.บ. ฉบับนี้ ก. ความรู้ คุณธรรม ข. กระบวนการเรียนรู้ ค. บูรณาการเหมาะสม ง. ถูกทุกข้อ

42. ใครคือ “ผู้กำหนดหลักสูตรแกนกลางระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน” ตาม พ.ร.บ. ฉบับนี้ ก. สภาการศึกษาขั้นพื้นฐาน ข. คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ค. สภาการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ง. คณะกรรมการการศึกษาระดับก่อนอุดมศึกษา

43. การศึกษาระดับใดมีความมุ่งหมายเฉพาะที่จะพัฒนาทางวิชาการและวิชาชีพ ก. ระดับประถมศึกษา ข. ระดับ ม.ต้น ค. ระดับ ม.ปลาย ง. ระดับอุดมศึกษา

44. ข้อใดไม่ใช่องค์กรหลักในโครงสร้างกระทรวงการศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมแห่งชาติ ก. คณะกรรมการสภาการศึกษา ข. คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ค. คณะกรรมการการอุดมศึกษา ง. คณะกรรมการการศาสนาและวัฒนธรรม

45. “การแบ่งเขตพื้นที่การศึกษา” คำนึงถึงข้อใด ก. จำนวนประชากร ข. ปริมาณสถานศึกษา ค. ความเหมาะสม ง. ถูกทุกข้อ

46. “การแบ่งเขตพื้นที่การศึกษา” ทั่วประเทศมีทั้งหมดกี่เขต ก. 324 ข. 325 ค. 175 ง. 275

47. สถานศึกษาระดับใดที่บริหารงานโดยคณะกรรมการสถานศึกษา ก. การศึกษาขั้นพื้นฐาน ข. ระดับต่ำกว่าปริญญา ค. ระดับปริญญา ง. ถูกทั้ง ก และ ข

48. ผู้มีอำนาจหน้าที่กำหนดมาตรฐานวิชาชีพและเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพคือ ก. นายกรัฐมนตรี ข. องค์กรวิชาชีพ ค. องค์กรบริหารงานบุคคล ง. องค์กรมหาชน

49. การออกกฎกระทรวง เพื่อแบ่งระดับและประเภทการศึกษาขั้นพื้นฐานดำเนินการภายในกี่ปี ก. 1 ปี ข. 2 ปี ค. 3 ปี ง. 5 ปี

50. การออกกฎหมาย กฎ ข้อบังคับต่าง ๆ ประกอบ พ.ร.บ. ต้องดำเนินการให้เสร็จภายในกี่ปี ก. 3 ปี ข. 4 ปี ค. 5 ปี ง. 6 ปี

51. พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 กำหนดให้การศึกษาภาคบังคับเป็น 9 ปี ตามมาตราใด ก. 16 ข. 17 ค. 18 ง. 19

52. “การปฏิรูปการศึกษา” สอดคล้องกับหมวดใดมากที่สุดตาม พ.ร.บ. ฉบับนี้ ก. หมวด 3 ข. หมวด 4 ค. หมวด 5 ง. หมวด 6

53. การจัดการศึกษาเพื่อให้ความรู้ และทักษะภาษาไทยเน้นเรื่องใดมากที่สุด ก. สื่อสารกับต่างชาติได้ ข. ใช้ถูกต้องไวยากรณ์ ค. ใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง ง. รักษาเป็นเอกลักษณ์

54. “องค์กรวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา” มีฐานะเป็นอะไรตาม พ.ร.บ. นี้ ก. องค์การมหาชน ข. องค์กรหลัก ค. องค์กรวิชาชีพ ง. องค์กรอิสระ

55. “สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา” มีฐานะเป็นอะไรตาม พ.ร.บ. นี้ ก. องค์การมหาชน ข. องค์กรหลัก ค. องค์กรวิชาชีพ ง. องค์กรอิสระ

56. ข้อใดที่ปรากฏใน พ.ร.บ. ฉบับนี้แต่ไม่ปรากฏในแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2535 ก. ระบบการศึกษา ข. แนวทางการจัดการศึกษา ค. หลักการและความมุ่งหมาย ง. สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษา

 57. นโยบายประกันโอกาสมีเป้าหมายการเตรียมความพร้อมเด็กอย่างน้อยกี่ปี ก. อย่างน้อย 1 ปี ข. อย่างน้อย 2 ปี ค. อย่างน้อย 3 ปี ง. 0-5 ปี

58. นโยบายประกันโอกาสให้นักเรียนภาคบังคับได้เรียนในโรงเรียนร้อยละเท่าไร ก. 85 ข. 95 ค. 98 ง. 100

59. การรับเด็กก่อนประถมเรียนเน้นพิเศษในพื้นที่ใด ก. ชุมชนแออัด ข. ชนบทห่างไกล ค. พื้นที่ที่มีปัญหาทางภาษา ง. เน้นทุกพื้นที่

60. ตามนโยบายประกันคุณภาพนักเรียน นักเรียนทุกคนได้พัฒนาความรู้ความสามารถและความถนัดตามศักยภาพโดยเฉพาะเด็กกลุ่มใด ก. เด็กกลุ่มปัญญาเลิศ ข. เด็กพิการ ค. เด็กด้อยโอกาส ง. ถูกทั้งข้อ ก ข ค

61. ข้อใดเกี่ยวข้องกับวิสัยทัศน์กระทรวงศึกษาธิการน้อยที่สุด ก. เป็นองค์กรหลักในการจัดการศึกษา ข. เป็นองค์กรที่ส่งเสริมการศึกษาให้ประชาชน ค. เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ง. พัฒนาประเทศให้ก้าวทันโลกยุคโลกาภิวัตน์

62. ข้อใดไม่ใช่ภาระกิจที่ดำเนินการตามยุทธศาสตร์กระทรวงศึกษาธิการ ก. ปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพคน ข. สร้างเสริมโอกาสในการศึกษาให้ประชาชนทุกคน ค. สร้างระบบการศึกษาที่มีคุณภาพ ง. สร้างระบบการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ

63. ข้อใดเป็นภาระกิจที่ต้องดำเนินการตามยุทธศาสตร์ของกระทรวงศึกษาธิการ ก. ประชาชนได้รับการศึกษาทั่วถึงเท่าเทียมกัน ข. พัฒนามาตรฐานการศึกษาเพื่อเพิ่มศักยภาพ ค. สร้างระบบประกันคุณภาพการศึกษา ง. เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันนานาชาติ

64. ข้อใดไม่ใช่เป้าหมายของยุทธศาสตร์ของกระทรวงศึกษาธิการ ก. ประชาชนได้รับการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ข. ประชาชนมีคุณธรรม ค. ประชาชนสามารถดำรงอยู่ในเวทีโลกได้ ง. ประเทศมีศักยภาพในการแข่งขันเพิ่มขึ้น

65. ข้อใดเป็น GOALS ของยุทธศาสตร์ ก. ประชาชนเรียนรู้ด้วยตัวเอง ข. ประชาชนร่วมพัฒนาเศรษฐกิจ ค. ประชาชนมีส่วนร่วมทุกเรื่อง ง. ประชาชนชอบการแข่งขันและพัฒนา

66. ข้อใดเป็นยุทธศาสตร์ ก. สร้างโอกาสทางการศึกษา ข. จัดการศึกษาเพื่อเด็กชนบทห่างไกล ค. พัฒนาศักยภาพโรงเรียนขนาดเล็ก ง. ร่วมมือ สมศ. ประกันคุณภาพ

67. ข้อใดไม่ใช่ยุทธศาสตร์ ก. พัฒนาการจัดการเรียนรู้ ข. พัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ ค. เพิ่มมาตรฐานการศึกษา ง. เพิ่มความสามารถในการแข่งขันของสถานศึกษา

68. การให้ทุนการศึกษาและจักรยานยืมเรียนสอดคล้องข้อใด ก. ความเสมอภาคทางการศึกษา ข. การมีส่วนร่วมของสังคมในการจัดการศึกษา ค. การช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจการศึกษา ง. การส่งเสริมด้านพลานามัยการศึกษา

69. การสนับสนุน Infrastructore ให้หน่วยงานจัดการศึกษาได้มาตรฐานสอดคล้องข้อใด ก. ความเสมอภาคทางการศึกษา ข. การมีส่วนร่วมของสังคมในการจัดการศึกษา ค. การช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจการศึกษา ง. การส่งเสริมด้านพลานามัยการศึกษา

70. SMEs สอดคล้องข้อใด ก. สร้างและส่งเสริมค่านิยมการศึกษาวิชาชีพ ข. ขยายโอกาสทางการศึกษาวิชาชีพให้กว้างขวางต่อเนื่อง ค. ส่งเสริมให้เอกชนลงทุนจัดการอาชีวศึกษา ง. สอนปริญญาตรีสายปฏิบัติการ

71. ปรับปรุงกฏหมายระเบียบให้เอื้อต่อการลงทุนสอดคล้องข้อใด ก. สร้างและส่งเสริมค่านิยมการศึกษาวิชาชีพ ข. ขยายโอกาสทางการศึกษาวิชาชีพให้กว้างขวางต่อเนื่อง ค. ส่งเสริมให้เอกชนลงทุนจัดการอาชีวศึกษา ง. สอนปริญญาตรีสายปฏิบัติการ

72. โครงการ 9+1,12+1เศรษฐกิจพอเพียงสอดคล้องข้อใด ก. สร้างและส่งเสริมค่านิยมการศึกษาวิชาชีพ ข. ขยายโอกาสทางการศึกษาวิชาชีพให้กว้างขวางต่อเนื่อง ค. ส่งเสริมให้เอกชนลงทุนจัดการอาชีวศึกษา ง. สอนปริญญาตรีสายปฏิบัติการ

73. Local seruice เกี่ยวข้องข้อใด ก. สถาบันอุดมศึกษาท้องถิ่นรับนักศึกษาตรง ข. ปรับปรุงระบบคัดเลือกนักศึกษาท้องถิ่น ค. สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลพัฒนาส่วน ภูมิภาค ง. พัฒนาสถาบันราชภัฏเป็นสถาบันการศึกษาของท้องถิ่น

74. ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับการสร้างโอกาสในระดับอุดมศึกษา ก. การเพิ่มค่า GPA ข. กองทุนกู้ยืมใหม่ ICL ค. รับนักศึกษาแบบ Advance Placement ง. จัดทำสถานที่ตั้งสถาบันอุดมศึกษา (Uninersity Mopping)

75. การผลิตกำลังคนในการเพิ่มเป้าหมายไม่น้อยกว่า 10 สาขา ข้อใดไม่ถูกต้อง ก. ชิ้นส่วนรถยนต์ ข. ส่งเสริมสุขภาพ ค. สิ่งทอ ง. อัญมณี

76. ข้อใดไม่สอดคล้องกับการพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรและสื่อการเรียน ก. Activity-based ข. SMEs ค. GPA ง. NT

77. โครงการ 1 โรงเรียน 1 ผลิตภัณฑ์ สอดคล้องข้อใด ก. พัฒนาจัดการเรียนรู้ ข. ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม ค. ปรับปรุงหลักสูตร ง. พัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยี

78. การยกระดับมาตรฐานวิชาชีพครูข้อใดสำคัญที่สุด ก. พัฒนามาตรฐานและจรรยาบรรณ ข. การออกและเพิกถอนใบประกอบวิชาชีพครู ค. ผลิตครูแนวใหม่ ง. วิจัยและพัฒนามาตรฐานครู

79. เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการข้อใดเกี่ยวข้องน้อยที่สุด ก. E-Net ข. E-Office ค. E-Learning ง. Mis

80. องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศข้อใดเกี่ยวข้องน้อยที่สุดกับการศึกษา ก. SEAMEO ข. UNICEF ค. UNESCO ง. WTO

81. การส่งเสริมความเป็นเลิศและพัฒนาอัจฉริยภาพ ข้อใดเกี่ยวข้องน้อยที่สุด ก. โรงเรียนการศึกษาพิเศษ ข. โรงเรียนดนตรี ค. โรงเรียนวิทยาศาสตร์ ง. โรงเรียน พสวท.

82. ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับการพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยี ก. พัฒนานวัตกรรมและองค์ความรู้ ข. ส่งเสริมคนรุ่นใหม่ ค. พัฒนาต่อยอด OTOP ง. พัฒนา SMEs สู่มาตรฐานสากล

83. การจัดหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 จัดอย่างไร ก. แบ่งเป็น 6 ช่วงชั้น ๆ 2 ปี ข. แบ่งเป็น 4 ช่วงชั้น ๆ 3 ปี ค. แบ่งเป็น 3 ช่วงชั้น ๆ 4 ปี ง. แบ่งเป็น 2 ช่วงชั้น ๆ 6 ปี

84. การจัดสาระการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 จัดอย่างไร ก. แบ่งเป็นสาระการเรียนรู้แกนและสาระการเรียนรู้ เพิ่มเติม ข. แบ่งเป็นสาระการเรียนรู้แกนร่วมและสาระการเรียนรู้แกนเลือก ค. แบ่งเป็นสาระการเรียนรู้บังคับและสาระการเรียนรู้เลือก ง. แบ่งเป็นสาระการเรียนรู้พื้นฐานและสาระการเรียนรู้เพิ่ม

85. สาระการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 มีกี่กลุ่มสาระ ก. 10 กลุ่ม ข. 8 กลุ่ม ค. 6 กลุ่ม ง. 4 กลุ่ม

86. การจัดสาระการเรียนรู้ในช่วงชั้นใดที่ต้องจัดเป็นรายภาค ก. ช่วงชั้น ป.1-3 ข. ช่วงชั้น ป.4-6 ค. ช่วงชั้น ม.1-3 ง. ช่วงชั้น ม.4-6

87. ข้อใดไม่ใช่ ลักษณะของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ก. ความต่อเนื่อง ข. ความเป็นเอกภาพ ค. ความยืดหยุ่น ง. จบในตัวเอง

88. ข้อใดคือจุดหมายของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ก. เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข มีความเป็นไทย ข. เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข ค. เป็นคนเก่ง คนดี มีความสุข ง. เป็นคนเก่ง คนดี

89. ผู้มีหน้าที่จัดทำหลักสูตรสถานศึกษาคือข้อใด ก. คณะกรรมการบริหารหลักสูตรและวิชาการสถานศึกษา ข. คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ค. คณะกรรมการวิชาการ ง. คณะกรรมการระดับชั้น

90. หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2544 กำหนดให้ใช้ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานทั่วประเทศเมื่อใด ก. ตั้งแต่ปีการศึกษา 2545 ข. ตั้งแต่ปีการศึกษา 2546 ค. ตั้งแต่ปีการศึกษา 2547 ง. ตั้งแต่ปีการศึกษา 2548

91. การจัดการเรียนการสอนต้องมีคุณภาพหมายถึงข้อใด ก. มีกิจกรรมเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ข. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนสูง ค. มีการนำหลักสูตรไปใช้ ง. มีการใช้สื่อประกอบการสอน

92. การวัดและการประเมินผลมีวัตถุประสงค์ตามข้อใด ก. การปรับปรุงการเรียนการสอน ข. ตัดสินผลการเรียนการสอน ค. ตรวจสอบพัฒนาการตามจุดประสงค์ ง. ปรับปรุงการเรียนการสอนและตัดสินผลการเรียน

93. สิ่งใดที่ครูผู้สอนควรยึดเป็นหลักสำคัญที่สุดในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ก. หลักสูตร ข. แผนการสอน ค. จุดประสงค์การเรียนรู้ ง. สื่อการเรียนการสอน

94. ท่านคิดว่าทำไมต้องมีการประกันคุณภาพการศึกษา ก. เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายการศึกษาแห่งชาติ ข. เพื่อให้ทุกโรงเรียนมีความคล้ายคลึงกันด้านการศึกษา ค. เพื่อเตรียมรับการประเมินภายนอก ง. เพื่อพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษา

95. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องตามแนวทางปฏิรูปการเรียนรู้ ก. การจัดการเรียนรู้ต้องยึดผู้เรียนเป็นที่ตั้ง ข. การเรียนรู้เกิดขึ้นได้กับทุกคน ทุกที่ ทุกเวลา ค. การจัดการเรียนรู้ถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด ง. ครูผู้สอนสำคัญที่สุด

96. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของการเรียนรู้ของนักเรียนตามแนวทางการปฏิรูปการเรียนรู้ ก. การเรียนรู้เน้นเด็กเป็นศูนย์กลาง ข. การเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง ค. การเรียนรู้ร่วมกับบุคคลอื่น ง. การเรียนรู้ด้วยกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง

97. สิ้นปีการศึกษาใดที่มีนักเรียนจบการศึกษาตามหลักสูตรฯในโรงเรียนนำร่องการใช้หลักสูตร การศึกษาขั้นพื้นฐาน ก. 2545 ข. 2546 ค. 2547 ง. 2548

98. จัดให้สอดคล้องกับจิตวิทยาพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กข้อความดังกล่าว เกี่ยวข้องกับหลักสูตรในข้อใด ก. หลักการ ข. จุดมุ่งหมาย ค. เนื้อหาสาระ ง. แนวทางการจัดการเรียนรู้

99. กระบวนการวัดและประเมินผลการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเน้นเรื่องใด ก. วัดความสามารถในการใช้ภาษา ข. วัดพัฒนาการทางภาษาของผู้เรียน ค. มีข้อทดสอบมาตรฐานวัดความสามารถในการใช้ภาษา ง. ถูกทุกข้อ

100. ” สามารถอดทนต่อคำนิทราของเพื่อนร่วมชั้นได้โดยไม่ตอบโต้” แสดงว่านักเรียน มีทักษะ ตามข้อใด ก. ทักษะทางสมอง ข. ทักษะทางอารมณ์ ค. ทักษะทางสังคม ง. ทักษะการทำงาน

 

เฉลยแค่80 ข้อ 1 ข 2 ง 3 ค 4 ค 5 ค 6 ข 7 ง 8 ก 9 ก 10 ง 11 ง 12 ก 13 ง 14 ง 15 ก 16 ง 17 ค 18 ก 19 ง 20 ค 21 ง 22 ง 23 ค 24 ก 25 ค 26 ก 27 ข 28 ง 29 ก 30 ง 31 ค 32 ง 33 ข 34 ค 35 ค 36 ก 37 ง 38 ง 39 ค 40 ค 41 ง 42 ข 43 ง 44 ง 45 ง 46 ค 47 ง 48 ข 49 ก 50 ค 51 ข 52 ค 53 ค 54 ค 55 ก 56 ง 57 ข 58 ง 59 ง 60 ง 61 ค 62 ง 63 ข 64 ค 65 ข 66 ก 67 ง 68 ง 69 ค 70 ค 71 ง 72 ข 73 ง 74 ง 75 ง 76 ค 77 ง 78 ง 79 ง 80 ง