แนวความคิดพื้นฐานของโรงเรียนในฝัน

1. สังคมแห่งการเรียนรู้ บรรยากาศวิชาการ บรรยากาศการเรียน
   โรงเรียนในฝัน ต้องเป็นโรงเรียนที่มีบรรยากาศการเรียนรู้ มีบรรยากาศทางวิชาการ เป็นสังคมของการเรียนรู้ตลอดเวลา สามารถพัฒนาทุกงานของโรงเรียนให้เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ ครูและบุคลากรทางการศึกษาสามารถพัฒนาตนเองและพัฒนางานจนสามารถเพิ่มประสิทธิภาพของงานวิชาการได้อย่างเต็มที่

2. เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสาร (ICT) E-Learning
นโยบายการเร่งใช้ ICT (Information and Communication Technology) เพื่อพัฒนาการศึกษาในทุกด้านโดยเฉพาะการช่วยพัฒนา ครู อาจารย์ การช่วยให้เด็กและเยาวชนได้เข้าถึงแหล่งความรู้และได้เรียนอย่างทัดเทียมกัน การพัฒนาระบบบริหาร จัดการให้ฉับไว มีประสิทธิภาพสูงสุด การจัดเครื่องมืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และการเชื่อมโยงเครือข่าย จึงเป็นนโยบายสำคัญของกระทรวงศึกษาธิการ

3. บริหารด้วยระบบข้อมูล ระบบดูแลนักเรียน
โรงเรียนในฝันต้องเป็นโรงเรียนที่มีระบบข้อมูลสารสนเทศที่มีคุณภาพ เป็นปัจจุบัน
หลากหลาย มีความคล่องตัวในการประยุกต์ใช้ได้เหมาะสม สะดวกรวดเร็ว และเอื้อต่อการจัดการศึกษาในทุกเรื่องของโรงเรียน

4. พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง โดยวิธีการ Whole School Approach
โรงเรียนในฝันต้องพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องด้วยการบริหารจัดการทั้งระบบงาน ทุกงานของโรงเรียนสามารถพัฒนาปรับปรุงประสิทธิภาพไปได้พร้อมกันอย่างมีประสิทธิภาพ เปรียบประดุจดังใบพัดองค์กรที่หมุนทุกๆส่วนอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย
5. ปรับโครงสร้างการบริหารจัดการ บรรยากาศบริหารเป็นเอกภาพ, SBM
โรงเรียนในฝันต้องปรับระบบการบริหารให้มีเอกภาพ โดยยึดการบริหารจัดการ ที่ใช้โรงเรียนเป็นฐานที่ทุกคน ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการดำเนินการทุกขั้นตอน และมีส่วนร่วมในความสำเร็จของงาน มีบรรยากาศของการบริหารที่เอื้อประโยชน์และส่งผลโดยตรงต่อการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียน
6. การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง แหล่งเรียนรู้, ภูมิปัญญา, Participatoty Learing
โรงเรียนในฝัน ต้องเป็นโรงเรียนที่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้มีส่วนร่วมอย่างเข้มแข็ง
ในการจัดหา พัฒนาปรับปรุงแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้มามีส่วนสำคัญในการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนและชุมชนร่วมกัน

7. Two-way communication การพัฒนาเครือข่ายที่จะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างชุมชน โรงเรียนเอกชน และสถาบันอุดมศึกษา โรงเรียนในฝัน ต้องเป็นแหล่งที่สามารถพัฒนาเครือข่ายที่จะแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน หรือกับสถาบันการศึกษาอื่นได้อย่างหลากหลาย เพื่อประโยชน์ในการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียน
8. ฐานการเรียนรู้สู่วิชาชีพ (Career Path) ประกอบอาชีพได้
โรงเรียนในฝันต้องเป็นแหล่งเรียนรู้สู่วิชาชีพของชุมชน เมื่อนักเรียนสำเร็จ
การศึกษาออกไป ก็สามารถนำความรู้ความสามารถที่ได้จากการเรียนรู้ในโรงเรียน ไปใช้ในการประกอบอาชีพ หรือ ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
9. มีระบบการจูงใจ โรงเรียนในฝันต้องเป็นโรงเรียนที่สามารถกระตุ้นจูงใจให้นักเรียนมีความ กระตือรือล้นที่จะใฝ่รู้ใฝ่เรียน จูงใจให้ผู้ปกครองส่งบุตรหลานมาเข้าเรียนอย่างต่อเนื่อง และสามารถใช้ระบบจูงใจนี้พัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา ของโรง-เรียนสู่ความเป็นหนึ่ง
10. เป็นพลเมืองดีของโลกโดยมีวิถีชีวิตแบบไทย
โรงเรียนในฝัน ต้องสามารถผลิตนักเรียนที่มีวิถีชีวิตแบบไทย มีคุณธรรม จริยธรรม เป็นพลเมืองดีของประเทศชาติและพลเมืองดีของโลกด้วย
11. มีบุคลากรและครูครบตามสาระของหลักสูตร
โรงเรียนในฝัน จะเป็นโรงเรียนสมบูรณ์แบบด้านความพร้อมของบุคลากร ครู มีบุคลากรหลากหลาย ครบตามสาระของหลักสูตร และบุคลากรสามารถจัดการเรียนรู้ได้ตามหลักสูตรอย่างมีประสิทธิภาพ
12. ดี เก่ง มีความสุข

โรงเรียนในฝัน ต้องสามารถทำให้ผลผลิตของโรงเรียน หรือนักเรียน เป็น คนดี
มีศีลธรรมจริยธรรม เป็นคนเก่งของสังคมประเทศชาติ และสามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข
คำว่า “เก่ง – ดี – มีสุข” เป็นคำที่เริ่มต้นจากฝ่ายการศึกษา ต่อมาได้มีผู้นำไปใช้อย่างแพร่หลายเพราะเป็นคำพูดง่ายติดปาก ความหมายของ เก่ง – ดี – มีสุข ในแง่ต่าง ๆ ได้แก่
การศึกษา คำว่าเก่ง – ดี – มีสุข มีความหมายดังนี้
เก่ง หมายถึง ความสามารถทางพุทธิปัญญา คือ ความรู้ความเข้าใจที่แจ่มแจ้งสามารถนำไปใช้ได้ วิเคราะห์เป็น สังเคราะห์ได้ ประเมินได้อย่างเข้าใจ และรู้แจ้งตามศักยภาพ
ทักษะปฏิบัติ คือ มีความรู้แจ้งแล้วยังมีความชำนาญปฏิบัติได้เป็นอย่างดี ทั้งที่เป็นทั้งทักษะฝีมือและทักษะทางปัญญา
ดี หมายถึง เป็นผู้มีเจตคตินิยมที่ดีทั้งต่อการเรียน ความเป็นอยู่ต่อบุคคล ต่อสังคม ชุมชน และประเทศ
มีสุข หมายถึง สนุกกับการเรียนและใคร่เรียนรู้ตลอดชีวิต

ใส่ความเห็น