ASEAN Communication กับ ความพร้อมการศึกษาไทย

ในปี พ.ศ. 2558 ประเทศในกลุ่มสามาชิกอาเซียนจะมีการรวมตัวกันเป็น ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) อันจะส่งผลให้มีความร่วมมือกันของกลุ่มประเทศสมาชิกเพื่อช่วยเหลือกันในด้านต่างๆ ความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงหลายๆอย่างมีพื้นฐานมาจากความรู้และการศึกษาเป็นปทัฏฐาน  การศึกษามีบทบาทสำคัญในการให้ความรู้ที่จำเป็นในการขับเคลื่อนและเตรียมการเพื่อก้าวสู่การเป็นประชาคมอาเซียนให้ทันตามกำหนด  ในกรอบความร่วมมือของประชาคมอาเซียนทั้ง 3 เสาหลัก (Three Pillars of ASEAN Community) ซึ่งประกอบด้วยประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political and Security Community – APSC)  ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community – AEC)และประชาสังคมและวัฒนธรรม (ASEAN Socio-Cultural Community – ASCC) (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ,2553) ทำให้ประเทศไทยต้องมีการเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวไปสู่การเปลี่ยนผ่าน  สอดคล้องกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบการจัดการศึกษา ก็ได้ตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว  ได้กำหนดนโยบายและเป้าหมายเพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องมีความรู้ ความเข้าใจ   และมีความตระหนักในการเป็นประชาคมอาเซียนมากยิ่งขึ้น(แนวทางการบริหารจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน ระดับประถมศึกษา,2554)  เพื่อพัฒนาเยาวชนไทยให้มีความพร้อมในการเป็นพลเมืองที่ดีเมื่ออยู่ร่วมกันกับประชากรของประเทศต่างๆในประชาคมอาเซียน(ชินภัทร ภูมิรัตน์,2555) จึงมีการประกาศใช้หลักสูตรอาเซียนและแนวทางการบริหารจัดการเรียนเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียนขึ้นมาให้เป็นแนวทางต่อการจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษาและหน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบต่อการจัดการศึกษา

ใส่ความเห็น