แนวความคิดพื้นฐานของโรงเรียนในฝัน

1. สังคมแห่งการเรียนรู้ บรรยากาศวิชาการ บรรยากาศการเรียน
   โรงเรียนในฝัน ต้องเป็นโรงเรียนที่มีบรรยากาศการเรียนรู้ มีบรรยากาศทางวิชาการ เป็นสังคมของการเรียนรู้ตลอดเวลา สามารถพัฒนาทุกงานของโรงเรียนให้เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ ครูและบุคลากรทางการศึกษาสามารถพัฒนาตนเองและพัฒนางานจนสามารถเพิ่มประสิทธิภาพของงานวิชาการได้อย่างเต็มที่

2. เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสาร (ICT) E-Learning
นโยบายการเร่งใช้ ICT (Information and Communication Technology) เพื่อพัฒนาการศึกษาในทุกด้านโดยเฉพาะการช่วยพัฒนา ครู อาจารย์ การช่วยให้เด็กและเยาวชนได้เข้าถึงแหล่งความรู้และได้เรียนอย่างทัดเทียมกัน การพัฒนาระบบบริหาร จัดการให้ฉับไว มีประสิทธิภาพสูงสุด การจัดเครื่องมืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และการเชื่อมโยงเครือข่าย จึงเป็นนโยบายสำคัญของกระทรวงศึกษาธิการ

3. บริหารด้วยระบบข้อมูล ระบบดูแลนักเรียน
โรงเรียนในฝันต้องเป็นโรงเรียนที่มีระบบข้อมูลสารสนเทศที่มีคุณภาพ เป็นปัจจุบัน
หลากหลาย มีความคล่องตัวในการประยุกต์ใช้ได้เหมาะสม สะดวกรวดเร็ว และเอื้อต่อการจัดการศึกษาในทุกเรื่องของโรงเรียน

4. พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง โดยวิธีการ Whole School Approach
โรงเรียนในฝันต้องพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องด้วยการบริหารจัดการทั้งระบบงาน ทุกงานของโรงเรียนสามารถพัฒนาปรับปรุงประสิทธิภาพไปได้พร้อมกันอย่างมีประสิทธิภาพ เปรียบประดุจดังใบพัดองค์กรที่หมุนทุกๆส่วนอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย
5. ปรับโครงสร้างการบริหารจัดการ บรรยากาศบริหารเป็นเอกภาพ, SBM
โรงเรียนในฝันต้องปรับระบบการบริหารให้มีเอกภาพ โดยยึดการบริหารจัดการ ที่ใช้โรงเรียนเป็นฐานที่ทุกคน ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการดำเนินการทุกขั้นตอน และมีส่วนร่วมในความสำเร็จของงาน มีบรรยากาศของการบริหารที่เอื้อประโยชน์และส่งผลโดยตรงต่อการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียน
6. การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง แหล่งเรียนรู้, ภูมิปัญญา, Participatoty Learing
โรงเรียนในฝัน ต้องเป็นโรงเรียนที่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้มีส่วนร่วมอย่างเข้มแข็ง
ในการจัดหา พัฒนาปรับปรุงแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้มามีส่วนสำคัญในการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนและชุมชนร่วมกัน

7. Two-way communication การพัฒนาเครือข่ายที่จะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างชุมชน โรงเรียนเอกชน และสถาบันอุดมศึกษา โรงเรียนในฝัน ต้องเป็นแหล่งที่สามารถพัฒนาเครือข่ายที่จะแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน หรือกับสถาบันการศึกษาอื่นได้อย่างหลากหลาย เพื่อประโยชน์ในการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียน
8. ฐานการเรียนรู้สู่วิชาชีพ (Career Path) ประกอบอาชีพได้
โรงเรียนในฝันต้องเป็นแหล่งเรียนรู้สู่วิชาชีพของชุมชน เมื่อนักเรียนสำเร็จ
การศึกษาออกไป ก็สามารถนำความรู้ความสามารถที่ได้จากการเรียนรู้ในโรงเรียน ไปใช้ในการประกอบอาชีพ หรือ ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
9. มีระบบการจูงใจ โรงเรียนในฝันต้องเป็นโรงเรียนที่สามารถกระตุ้นจูงใจให้นักเรียนมีความ กระตือรือล้นที่จะใฝ่รู้ใฝ่เรียน จูงใจให้ผู้ปกครองส่งบุตรหลานมาเข้าเรียนอย่างต่อเนื่อง และสามารถใช้ระบบจูงใจนี้พัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา ของโรง-เรียนสู่ความเป็นหนึ่ง
10. เป็นพลเมืองดีของโลกโดยมีวิถีชีวิตแบบไทย
โรงเรียนในฝัน ต้องสามารถผลิตนักเรียนที่มีวิถีชีวิตแบบไทย มีคุณธรรม จริยธรรม เป็นพลเมืองดีของประเทศชาติและพลเมืองดีของโลกด้วย
11. มีบุคลากรและครูครบตามสาระของหลักสูตร
โรงเรียนในฝัน จะเป็นโรงเรียนสมบูรณ์แบบด้านความพร้อมของบุคลากร ครู มีบุคลากรหลากหลาย ครบตามสาระของหลักสูตร และบุคลากรสามารถจัดการเรียนรู้ได้ตามหลักสูตรอย่างมีประสิทธิภาพ
12. ดี เก่ง มีความสุข

โรงเรียนในฝัน ต้องสามารถทำให้ผลผลิตของโรงเรียน หรือนักเรียน เป็น คนดี
มีศีลธรรมจริยธรรม เป็นคนเก่งของสังคมประเทศชาติ และสามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข
คำว่า “เก่ง – ดี – มีสุข” เป็นคำที่เริ่มต้นจากฝ่ายการศึกษา ต่อมาได้มีผู้นำไปใช้อย่างแพร่หลายเพราะเป็นคำพูดง่ายติดปาก ความหมายของ เก่ง – ดี – มีสุข ในแง่ต่าง ๆ ได้แก่
การศึกษา คำว่าเก่ง – ดี – มีสุข มีความหมายดังนี้
เก่ง หมายถึง ความสามารถทางพุทธิปัญญา คือ ความรู้ความเข้าใจที่แจ่มแจ้งสามารถนำไปใช้ได้ วิเคราะห์เป็น สังเคราะห์ได้ ประเมินได้อย่างเข้าใจ และรู้แจ้งตามศักยภาพ
ทักษะปฏิบัติ คือ มีความรู้แจ้งแล้วยังมีความชำนาญปฏิบัติได้เป็นอย่างดี ทั้งที่เป็นทั้งทักษะฝีมือและทักษะทางปัญญา
ดี หมายถึง เป็นผู้มีเจตคตินิยมที่ดีทั้งต่อการเรียน ความเป็นอยู่ต่อบุคคล ต่อสังคม ชุมชน และประเทศ
มีสุข หมายถึง สนุกกับการเรียนและใคร่เรียนรู้ตลอดชีวิต

ASEAN Communication กับ ความพร้อมการศึกษาไทย

ในปี พ.ศ. 2558 ประเทศในกลุ่มสามาชิกอาเซียนจะมีการรวมตัวกันเป็น ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) อันจะส่งผลให้มีความร่วมมือกันของกลุ่มประเทศสมาชิกเพื่อช่วยเหลือกันในด้านต่างๆ ความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงหลายๆอย่างมีพื้นฐานมาจากความรู้และการศึกษาเป็นปทัฏฐาน  การศึกษามีบทบาทสำคัญในการให้ความรู้ที่จำเป็นในการขับเคลื่อนและเตรียมการเพื่อก้าวสู่การเป็นประชาคมอาเซียนให้ทันตามกำหนด  ในกรอบความร่วมมือของประชาคมอาเซียนทั้ง 3 เสาหลัก (Three Pillars of ASEAN Community) ซึ่งประกอบด้วยประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political and Security Community – APSC)  ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community – AEC)และประชาสังคมและวัฒนธรรม (ASEAN Socio-Cultural Community – ASCC) (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ,2553) ทำให้ประเทศไทยต้องมีการเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวไปสู่การเปลี่ยนผ่าน  สอดคล้องกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบการจัดการศึกษา ก็ได้ตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว  ได้กำหนดนโยบายและเป้าหมายเพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องมีความรู้ ความเข้าใจ   และมีความตระหนักในการเป็นประชาคมอาเซียนมากยิ่งขึ้น(แนวทางการบริหารจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน ระดับประถมศึกษา,2554)  เพื่อพัฒนาเยาวชนไทยให้มีความพร้อมในการเป็นพลเมืองที่ดีเมื่ออยู่ร่วมกันกับประชากรของประเทศต่างๆในประชาคมอาเซียน(ชินภัทร ภูมิรัตน์,2555) จึงมีการประกาศใช้หลักสูตรอาเซียนและแนวทางการบริหารจัดการเรียนเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียนขึ้นมาให้เป็นแนวทางต่อการจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษาและหน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบต่อการจัดการศึกษา

การใช้ICT เพื่อการศึกษา บริหาร จัดการเรียนรู้

การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีบทบาทต่อการศึกษาอย่างมาก หลังจากแนวคิดของบิลล์ เกตส์ (Bill Gate) เกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการศึกษา ความคิดของเขาสมัยนั้นนับเป็นการเปิดโลกทัศน์ด้านการศึกษาด้วยการนำระบบคอมพิวเตอร์สมัยใหม่มาปฏิวัติระบบการเรียนการสอนในปัจจุบัน(รุ่ง แก้วแดง,2543) ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดเรื่องการใช้สารสนเทศเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ให้เกิดกระบวนการคิดด้วยเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์และการสื่อสารโทรคมนาคมอันมีบทบาทที่สำคัญต่อการพัฒนาการศึกษา คือ 1) เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีส่วนช่วยเรื่องการเรียนรู้ 2) เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยสนับสนุนการจัดการศึกษา 3) เทคโนโลยีสารสนเทศกับการสื่อสารระหว่างบุคคล(หาญศึก เล็บครุฑและคณะ,2553) และภาคีเพื่อทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 (The Partnership for 21st Century Skills, 2011)ได้กำหนดผลลัพธ์ของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 โดยผสมผสานความรู้ ทักษะ และความชำนาญและความรู้ความสามารถพื้นฐานในเรื่องต่างๆ ที่ประกอบด้วย 1) ความรู้เนื้อหาวิชาและประเด็นแนวคิดหลักของศตวรรษที่ 21 ได้แก่จิตสำนึกต่อโลก ความรู้พื้นฐานการเงินเศรษฐกิจ ธุรกิจ และการประกอบการ ความเป็นพลเมือง การรู้เรื่องสุขภาพ และความรู้พื้นฐานเรื่องสิ่งแวดล้อม  2) ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ครอบคลุมความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม การคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหา การสื่อสารและความร่วมมือร่วมใจ 3) ทักษะสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี ครอบคลุมการรู้สารสนเทศ การรู้เท่าทันสื่อ การรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และ4) ทักษะชีวิตและอาชีพ ครอบคลุมความยืดหยุ่น การปรับตัว ทักษะทางสังคมและข้ามวัฒนธรรม ผลิตผลและการตรวจสอบได้ ภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ (ชุติมา สัจจานันท์ , 2556) โดยประเด็นที่ 3 ทักษะสารสนเทศ(IT Skill) สื่อและเทคโนโลยี ครอบคลุมการรู้สารสนเทศ(Information Literacy) การรู้เท่าทันสื่อ(Media Literacy) การรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ICT Literacy) มีบทบาทสำคัญมากในยุคปัจจุบันนี้ เพราะสารสนเทศที่ดีและสมบูรณ์เป็นสิ่งที่ทำให้เราอยู่แถวหน้า เป็นผู้นำที่สามารถตัดสินใจและทำงานได้อย่างคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ

สาระสำคัญการปฏิรูปการศึกษา ในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.๒๕๕๒-๒๕๖๑)

สาระสำคัญการปฏิรูปการศึกษา

ในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.๒๕๕๒-๒๕๖๑)

 

วิสัยทัศน์     คนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ

เป้าหมาย   ภายในปี ๒๕๖๑ มีการปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ

โดยเน้นประเด็นหลักสามประการ คือ

๑) คุณภาพและมาตรฐานการศึกษาและเรียนรู้ของคนไทย โอกาสทางการศึกษาและเรียนรู้ เพื่อพัฒนาผู้เรียน สถานศึกษาแหล่งเรียนรู้ สภาพแวดล้อม หลักสูตรและเนื้อหา พัฒนาวิชาชีพครูให้เป็นวิชาชีพที่มีคุณค่า สามารถดึงดูดคนเก่งดีและมีใจรักมาเป็นครูคณาจารย์ได้อย่างยั่งยืน ภายใต้ระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ

๒) เพิ่มโอกาสการศึกษาและเรียนรู้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ เพื่อให้ประชาชนทุกคน ทุกเพศ  ทุกวัยมีโอกาสเข้าถึงการศึกษาและเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

๓) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนของสังคม ในการบริหารและจัดการศึกษา โดยเพิ่มบทบาทของผู้ที่อยู่ภายนอกระบบการศึกษาด้วย

 

กรอบแนวทางการปฏิรูปการศึกษา   

มีการปฏิรูปการศึกษาและเรียนรู้อย่างเป็นระบบ โดย

๑) พัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม่  ที่มีนิสัยใฝ่เรียนรู้ สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองและแสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

๒) พัฒนาคุณภาพครูยุคใหม่  ที่เป็นผู้เอื้ออำนวยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้  เป็นวิชาชีพที่มีคุณค่า  สามารถดึงดูดคนเก่ง คนดี มีใจรักในวิชาชีพครูมาเป็นครู

๓) พัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและแหล่งเรียนรู้ยุคใหม่ เพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาทุกระดับ/ประเภทให้สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณภาพและพัฒนาแหล่งเรียนรู้อื่นๆ สำหรับการศึกษาและเรียนรู้ทั้งในระบบโรงเรียน นอกระบบโรงเรียนและการศึกษาตามอัธยาศัย

๔) พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการใหม่ ที่มุ่งเน้นการกระจายอำนาจสู่สถานศึกษา เขตพื้นที่การศึกษา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  รวมทั้งการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ชุมชน ภาคเอกชนและทุกภาคส่วน    มีระบบการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล

 

 เป้าหมายยุทธศาสตร์และตัวบ่งชี้ การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง

(พ.ศ.๒๕๕๒-๒๕๖๑)

 

เป้าหมายยุทธศาสตร์ที่ ๑  คนไทยและการศึกษาไทยมีคุณภาพ

และได้มาตรฐานระดับสากล

ตัวบ่งชี้และค่าเป้าหมาย

๑.๑ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาหลักจากการทดสอบระดับชาติมีคะแนนเฉลี่ยมากกว่าร้อยละ ๕๐

๑.๒ ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์เพิ่มขึ้นเป็นไม่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยนานาชาติ (ผลทดสอบ PISA)

๑.๓ ความสามารถด้านภาษาอังกฤษเพิ่มขึ้นร้อยละ ๓ ต่อปี

๑.๔ ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ ๓ ต่อปี

๑.๕ สัดส่วนผู้เรียนมัธยมศึกษาตอนปลายประเภทอาชีวศึกษา : สามัญศึกษาเป็น ๖๐ : ๔๐

๑.๖ ผู้สำเร็จอาชีวศึกษาและอุดมศึกษามีคุณภาพระดับสากลและเป็นไปตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ

๑.๗ จำนวนปีการศึกษาเฉลี่ยของคนไทย (อายุ ๑๕-๕๙ ปี) เพิ่มขึ้นเป็น ๑๒ ปี

 เป้าหมายยุทธศาสตร์ที่ ๒ คนไทยใฝ่รู้ :

สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง รักการอ่าน และแสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่อง

ตัวบ่งชี้และค่าเป้าหมาย

๒.๑ ผู้เรียนทุกระดับการศึกษาไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๗๕ มีทักษะในการแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง รักการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

๒.๒ อัตราการรู้หนังสือของประชากร (อายุ ๑๕-๖๐ ปี) เป็นร้อยละ ๑๐๐

๒.๓ ผู้เข้ารับบริการในแหล่งเรียนรู้เพิ่มขึ้นปีละอย่างน้อยร้อยละ ๑๐

๒.๔ คนไทยใช้เวลาอ่านหนังสือนอกเวลาเรียน/นอกเวลาทำงานโดยเฉลี่ยอย่างน้อยวันละ ๖๐ นาที

๒.๕ สัดส่วนผู้ที่ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนรู้ต่อประชากรอายุ ๑๐ ปีขึ้นไปเป็นร้อยละ ๕๐

 

เป้าหมายยุทธศาสตร์ที่ ๓ คนไทยใฝ่ดี : มีคุณธรรมพื้นฐาน มีจิตสำนึกและค่านิยมที่พึงประสงค์ เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม มีจิตสาธารณะ มีวัฒนธรรมประชาธิปไตย

ตัวบ่งชี้และค่าเป้าหมาย

๓.๑ ผู้เรียนทุกระดับการศึกษาไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๗๕ มีคุณธรรม จริยธรรมและมีความเป็นพลเมือง

๓.๒ จำนวนคดีเด็กและเยาวชนที่ถูกดำเนินคดีโดยสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนลดลงร้อยละ ๑๐ ต่อปี

๓.๓ จำนวนเด็กอายุต่ำกว่า ๑๕ ปี ที่ตั้งครรภ์ลดลงร้อยละ ๑๐ ต่อปี

๓.๔ จำนวนเด็กเข้ารับการบำบัดยาเสพติดลดลงร้อยละ ๑๐ ต่อปี

๓.๕ สัดส่วนคนไทยที่ประกอบกิจกรรมทางศาสนา และกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นและสังคมอย่างสม่ำเสมอเพิ่มขึ้นร้อยละ ๕ ต่อปี

 

เป้าหมายยุทธศาสตร์ที่ ๔ คนไทยคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาได้ : มีทักษะในการคิดและปฏิบัติ มีความสามารถในการแก้ปัญหา มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีความสามารถในการสื่อสาร

ตัวบ่งชี้และค่าเป้าหมาย

๔.๑ ผู้เรียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๗๕ มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ มีวิจารณญาณ มีความคิดสร้างสรรค์

๔.๒ ผู้สำเร็จการอาชีวศึกษาและการอุดมศึกษา มีสมรรถนะเป็นที่พึงพอใจของผู้ใช้ และมีงานทำภายใน ๑ ปี รวมทั้งประกอบอาชีพอิสระเพิ่มขึ้น

๔.๓ กำลังแรงงานที่มีการศึกษาระดับมัธยมศึกษาขึ้นไปเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ ๖๕ และมีสมรรถนะทางวิชาชีพตามมาตรฐาน

มาตรฐานวิชาชีพครู 2555

บรรยายพิเศษเรื่อง มาตรฐานวิชาชีพครู 2555 โดย ดร.ดิเรก พรสีมา  ณ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 

 ประเทศอื่นเพิ่มคุณภาพการศึกษาอย่างไร มีจุดเน้นหลัก 3 แบบ
แบบที่ 1 เน้นที่ครู      ได้แก่ คัดเลือกคนดีคนเก่งมาเรียนครู จำกัดจำนวนรับนักเรียนครู ให้ทุนนักเรียนครู ให้ครูพัฒนาต่อเนื่อง หาโค้ชทางการสอนให้กับครู จัดเวลาให้ครูเรียนรู้จากเพื่อน เพิ่มเงินเดือนให้ครู ลดสัดส่วนครูต่อนักเรียน

แบบที่ 2 เน้นทั่วไป  ได้แก่ ลดขนาดโรงเรียน พัฒนาหลักสูตร กำหนดมาตรฐานหลักสูตร สื่อ ห้องปฏิบัติการ แหล่งเรียนรู้ สร้างเครือข่ายโรงเรียน เครือข่ายทางวิชาการ ให้ฝ่ายต่างๆเข้ามามีส่วนร่วม ทำแผนกลยุทธ์ โฮมสคูล ฯลฯ

แบบที่ 3 เน้นโครงสร้าง ได้แก่ กระจายอำนาจ โรงเรียนบริหารวิชาการ งบประมาณ บุคคล และบริหารทั่วไปเอง บริหารแบบ SBM สร้าง Charter School จ้างครูเอง จ้างผู้อำนวยการเอง จัดงบประมาณแบบรายหัว A-level, O-level, PISA, QA, SBA 

 

เขาเพิ่มคุณภาพบัณฑิตครูได้สำเร็จด้วยการ……..

1.เลือกคนดีคนเก่งมาเรียนครูและให้หลักประกันการมีงานทำแก่บัณฑิต
2.ใช้ระบบการผลิตแพทย์ในการผลิตครูและให้นักเรียนครูเรียนจากคณาจารย์ชั้นเยี่ยม
3.ให้นักเรียนครูฝึกสอนในโรงเรียนชั้นเยี่ยมที่ครูในโรงเรียนทุกคนล้วนเป็น Master or Expert Teachers จนบัณฑิตครูแต่ละคนกลายเป็นครูวิชาชีพ

4. ให้ครูมีรายได้(เงินเดือน)เพียงพอแก่การดำรงตนอยู่ในสังคมอย่างมีศักดิ์ศรี ขั้นเงินเดือนน้อยขั้น ได้เงินเดือนเต็มขั้นเร็ว

5. พัฒนาคนเหล่านี้ให้เป็นครูที่มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง

6. สร้างระบบ สภาพแวดล้อมทางกายภาพในการทำงาน และจัดหาอุปกรณ์และสื่อที่เอื้อให้ครูที่มีคุณภาพทำงานให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่เด็ก
7. สร้างพลังอำนาจ(empower)ให้แก่ครู และให้ครูได้แสดงพลังอำนาจทางการสอน 
8. ยกย่อง ให้รางวัล ให้เกียรติบัตร โล่ ฯลฯ

 

พ.ร.บ.สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา ๒๕๔๖
  หมวด ๑ สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา
  หมวด ๒ คณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา
   ส่วนที่ ๑ บททั่วไป – วัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่

มาตรา ๘ ให้คุรุสภามีวัตถุประสงค์ดังนี้    (๑) กำหนดมาตรฐานวิชาชีพ ออกและเพิกถอนใบอนุญาต กำกับดูแลการปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของ   วิชาชีพ รวมทั้งการพัฒนาวิชาชีพ   (๒) กำหนดนโยบายและแผนพัฒนาวิชาชีพ   (๓) ประสาน ส่งเสริมการศึกษาและการวิจัยเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ
โดยที่(๒) และ (๓) เป็นวัตถุประสงค์ที่กำหนดขึ้นเพื่อสนับสนุน (๑)

มาตรา ๗๘ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๔๓ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๗๙ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๔๖ หรือมาตรา ๕๖ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๓ ปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ม.๔๓ ให้วิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษาเป็นวิชาชีพควบคุมตามพระราชบัญญัตินี้ การกำหนดวิชาชีพควบคุมอื่นให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง     ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบวิชาชีพควบคุมโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้เว้นแต่กรณีอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้     (๑) ผู้ที่เข้ามาให้ความรู้แก่ผู้เรียนในสถานศึกษาเป็นครั้งคราวในฐานะวิทยากรพิเศษทางการศึกษา     (๒) ผู้ที่ไม้ได้ประกอบอาชีพหลักทางด้านการเรียนการสอนแต่บางครั้งต้องทำหน้าที่สอน     (๓) นักเรียน นักศึกษา หรือผู้รับการฝึกอบรม หรือผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติการ   สอนซึ่งทำการฝึกหัดหรืออบรมในความควบคุมของผู้ประกอบ  วิชาชีพทางการศึกษาซึ่งเป็นผู้ให้การศึกษาอบรม ทั้งนี้ตาม  หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด (๔) ผู้ที่จัดการศึกษาตามอัธยาศัย(๕) ผู้ที่ทำหน้าที่สอนในศูนย์การเรียนตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ หรือสถานที่เรียนที่หน่วยงานจัดการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน อปท. องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ โรงพยาบาล สถาบันทางการแพทย์สถานสงเคราะห์ และสถาบันสังคมอื่นเป็นผู้จัด  (๖) คณาจารย์ ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษาในระดับอุดมศึกษา ระดับปริญญาทั้งของรัฐและเอกชน  (๗) ผู้บริหารการศึกษาระดับเหนือเขตพื้นที่การศึกษา  (๘) บุคคลอื่นตามที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด

มาตรา ๔๔ ผู้ขอใบอนุญาตเป็นผู้ประกกอบวิชาชีพควบคุม ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังนี้

  (ก) คุณสมบัติ

  (๑) อายุไม่ต่ำกว่า ๒๐ ปี

  (๒) มีวุฒิปริญญาทางการศึกษา หรือเทียบเท่า หรือคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง

  (๓) ผ่านการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาตามหลักสูตรปริญญาทาง 

                                           การศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑ ปี และผ่าน

                                           การประเมินปฏิบัติการสอนตามหลักเกณฑ์ 

                                           วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด

ผู้ขอใบอนุญาตเป็นผู้ประกกอบวิชาชีพควบคุม ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังนี้

  (ข) ลักษณะต้องห้าม

  (๑) เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี  (๒) ไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ  (๓) เคยต้องโทษจำคุกในคดีที่คุรุสภาเห็นว่าอาจนำมาซึ่งความเสื่อม  เสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ

มาตรา ๔๕ ผู้ขอรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต การกำหนดอายุใบอนุญาต การต่อใบอนุญาต การขอรับใบแทนใบอนุญาต และการออกใบแทนใบอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในข้อบังคับคุรุสภา ผู้ขอรับใบอนุญาตหรือขอต่อใบอนุญาตซึ่ง กมว. ไม่ออกหรือไม่ต่อใบอนุญาตให้อาจอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการคุรุสภาได้

  มาตรา ๔๖ ห้ามมิให้ผู้ใดแสดงด้วยวิธีใดๆให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนมีสิทธิหรือ พร้อมจะประกอบอาชีพโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากคุรุสภา และ ห้ามมิให้สถานศึกษารับผู้ที่ไม่ได้รับใบอนุญาตเข้าประกอบวิชาชีพควบคุมในสถานศึกษา เว้นแต่จะได้รับ  ใบอนุญาตจากคุรุสภา

 

รู้และสามารถการปฏิบัติให้บังเกิดผล (สมรรถนะ)

ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูอยู่เสมอ ๑
ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน ๒
พัฒนาแผนการสอนให้สามารถปฏิบัติได้เกิดผลจริง ๓
ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่างๆโดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดขึ้นแก่ผู้เรียน ๔
 มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ ๕
จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ผู้เรียน ๖
แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา ๗
สร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนในทุกสถาณการณ์ ๘
พัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ ๙
รายงานผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนอย่างมีระบบ ๑๐
ร่วมมือกับผู้อื่นในสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์ ๑๑
ร่วมมือกับผู้อื่นในชุมชนอย่างสร้างสรรค์ ๑๒